วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สรุปผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน อาชีพทอผ้าฝ้าย

กศน.ตำบลบ้านดุง ส่งสรุปผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน อาชีพทอผ้าฝ้าย
ประจำภาคเรียนที่ 2/2558 




บทที่ ๑
บทนำ

หลักการและเหตุผล

                    จากการที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะคืนความสุขให้กับประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่  พ.ศ.๒๕๕๘ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้จัดให้มี  ของขวัญปีใหญ่ที่กระทรวงศึกษาธิการมอบให้ประชาชน ในเรื่องดังกล่าวสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.)ได้เล็งเห็นความสำคัญสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการ มอบให้ประชาชนในช่วงปีใหม่  และเห็นว่าในปัจจุบันประชาชนมีเศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ว่างงาน  หรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิม  หรือประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จะทำให้ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิตและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของโครงการ


เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนที่ว่างงาน  หรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิม  หรือ
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และค่าครองชีพในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีรายได้เพิ่มขึ้น


เป้าหมายของโครงการ

เชิงปริมาณ
ผู้เข้าอบรมในโครงการทอผ้าฝ้าย  จำนวน ๒๐ คน 

                   เชิงคุณภาพ
                   ๑. ประชาชนที่ได้รับการอบรมมีความพึงพอใจต่อการฝึกอาชีพตามที่ตนเองต้องการที่ กศน. ตำบล/แขวง จัดฝึกให้
                   ๒. ประชาชนที่ได้รับการฝึกอาชีพสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ หรือเป็นอาชีพเสริมต่อไปทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 
                   ๓. ผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ
สถานที่ดำเนินการ
           
                   ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กศน.ตำบลบ้านดุง  อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี








วิธีดำเนินการ

กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
๑. ประชาสัมพันธ์โครงการฯให้ประชาชนทุกตำบลทราบ
เพื่อเชิญชวนประชาชนที่สนใจมาสมัครเข้าร่วมโครงการ อาชีพทอผ้าฝ้าย
ประชาชนที่ว่างงานหรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิมหรือเปลี่ยนอาชีพใหม่
บ้านห้วยปลาโดศรีสามารถตำบลบ้านดุง
ประชาสัมพันธ์และรับสมัครตั้งแต่ ๕-๑๔ มกราคม ๒๕๕๘
๑๐,๐๐๐
๒. จัดฝึกอาชีพให้กับนักศึกษา/ประชาชนตามความสนใจในแต่ละพื้นที่
เพื่อฝึกอาชีพให้กับนักศึกษา/ประชาชนที่สมัครเข้า
ประชาชนที่ว่างงานหรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิม หรือ
บ้านห้วยปลาโดศรีสามารถตำบลบ้านดุง
ฝึกอาชีพ ๕-๑๕ มกราคม ๕๘
ใช้งบประมาณศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
๓. ติดตามผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ
เพื่อติดตามและรายงานผลการฝึกอาชีพให้กับประชาชน
ผู้ที่ได้รับการฝึกอาชีพจากสถานศึกษา กศน.ทั่วประเทศ
บ้านห้วยปลาโดศรีสามารถตำบลบ้านดุง
๑-๑๐ กุมภาพันธ์  ๕๘  และ
๒๙ พฤษภาคม ๕๘
-


สถานที่ดำเนินโครงการ

ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน กศน.ตำบลบ้านดุง อำเภอบ้านดุง   จังหวัดอุดรธานี

ผู้รับผิดชอบโครงการ
ครู กศน.ตำบลบ้านดุง                                                                                                   ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านดุง
เครือข่าย

          ๑.ผู้นำชุมชน
          ๒.องค์การบริหารส่วนตำบล
          ๓.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
          ๔.อสม.
ผลลัพธ์

นักศึกษา/ประชาชนได้รับการฝึกอาชีพ/พัฒนาอาชีพ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว

บทที่ ๒
เอกสารอ้างอิง


ผ้าฝ้าย

สายใยความผูกพันแห่งชีวิตและเส้นใย ฝ้าย (cotton) คือ เส้นใยเก่สาแก่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการทอผ้ามาแต่สมัยโบราณ สิ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่ามนุษย์มีการปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมานานแล้ว คือหลักฐานทางโบราณคดี ซึ่งขุดพบในซากปรักหักพังอายุประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาลที่แหล่งโบราณคดีโมฮันโจดาโร (Mohenjo daro) ซึ่งอยู่ในบริเวณแหล่งอารยธรรม ลุ่มน้ำสินธุในเขตประเทศปากีสถานปัจจุบัน
เตรียมฝ้ายเข้าสู่กระบวนการผลิตส่วนการทอผ้าฝ้ายในประเทศไทยนั้น คงมีขึ้นหลังการทอผ้าจากป่านกัญชา สันนิษฐานว่าการปลูกฝ้ายในไทยรับเอาพันธุ์และวิธีการมาจากประเทศอินเดีย และหลังจากพบว่าผ้าทอจากฝ้ายมีเนื้อนุ่ม สวมใส่สบายและย้อมติดสีดีกว่าผ้าป่านกัญชา อีกทั้งขั้นตอนและกระบวนการแยกและเตรียมฝ้ายก็ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อยกว่าการเตรียมป่านกัญชามาก ชาวไทยจึงค่อย ๆใช้ป่านกัญชาลดลงตามลำดับ ปัจจุบันแหล่งปลูกฝ้ายในประเทศไทย คือ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สุโขทัย เพชรบุรี นครราชสีมา และกาญจนบุรี
พันธ์ุฝ้ายในประเทศไทยมีหลายชนิด และมีฝ้ายพื้นเมืองอยู่ 2 สายพันธุ์ ซึ่งให้ปุยสีขาวอย่างที่มักพบเห็นทั่วไป และฝ้ายพันธ์ซึ่งให้ปุยสีน้ำตาลอ่อนที่ชาวบ้านเรียกกันว่าสีขี้ตุ่นหรือสีตุ่น และเรียกฝ้ายชนิดนี้ว่าฝ้ายตุ่น ฝ้ายตุ่นเป็นพันธุ์ฝ้ายที่หายากและปั่นยากกว่าฝ้ายพันธุ์สีขาว เนื่องจากมีปุยสั้นและไม่ค่อยฟูเหมือนพันธุ์สีขาว ดอกฝ้ายตุ่นมีขนาดเล็กสีน้ำตาล เส้นใยสั้น ใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการทอผ้าด้วยมือแบบพื้นเมือง ส่วนฝ้ายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ มักใช้ทอผ้าในระดับอุตสาหกรรม
ฝ้าย
ผ้าที่ทอจากฝ้ายส่วนใหญ่คือ ผ้าทอจากทางภาคเหนือ ชาวล้านนาจะเริ่มปลูกฝ้ายราวเดือนพฤษภาคมและรอเก็บในเดือพฤศจิกายน นิยมเก็บฝ้ายก่อนที่ฝ้ายจะร่วงลงสู่พื้น ป้องกันไม่ให้ฝ้ายสกปรก หลังจากเก็บฝ้ายแล้วชาวบ้านต้องนำฝ้ายไปตาก เพื่อคัดเอาแมลงและสิ่งสกปรกออก ก่อนจะนำไปหีบหรืออีดในที่อีดฝ้าย แยกเอาเมล็ดออกก่อนนำไปปั่นเป็นเส้นด้าย

วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า

๑. ฝ้าย ฝ้ายที่ทอในปัจจุบันไม่ได้ปลูกเอง แต่จะซื้อสำเร็จรูป ซึ่งมีทั้งฝ้ายที่ย้อมสีสำเร็จและฝ้ายที่ต้องนำมาย้อมสีเอง
๒. กี่ทอผ้า การทอผ้าฝ้ายของกลุ่มสตรีบ้านเหล่าปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการทอด้วยกี่กระตุก เนื่องจากเป็นการทอผ้าที่มีหน้ากว้าง การทอด้วยกี่กระตุกช่วยทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้น โดยเพิ่มปริมาณความยาวของผ้าได้มากกว่าการทอผ้าที่พุ่งกระสวยด้วยมือ กี่กระตุกที่พบในปัจจุบันมี ๒ ขนาด คือ กี่ขนาดใหญ่ใช้ทอผ้าที่มีความกว้างมาก เวลาทอต้องใช้คน ๒ คนช่วยกันพุ่งกระสวยไปมา ส่วนกี่ขนาดที่สองเป็นกี่ขนาดเล็กซึ่งใช้แรงงานของคนทอเพียงคนเดียว
เครื่องทอผ้าพื้นเมืองที่เรียกว่า กี่ หรือหูกทอผ้า กี่ แต่ละหลังมีส่วนประกอบหลายอย่าง ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกันทั้งหมดในขณะทอผ้า ส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าวได้แก่
·         ฟืม ทำจากต้นไม้ยาวพอสมควรตามขนาดของกี่ มีด้ามสำหรับจับเพื่อใช้ดึงให้ฟืมดันฝ้ายเส้นพุ่งให้ติดกันแน่นเป็นผืน
·         เขาฟืม มีลักษณะเป็นท่อนกลมๆ ยาวๆ ทำจากวัสดุหลายชนิด เช่น ไม้ไผ่ ท่อพลาสติกหรืออลูมิเนียม จำนวนของเขาฟืมจะขึ้นอยู่กับจำนวนตะกอ ถ้าผ้าที่ทอมี ๒ ตะกอ จะใช้เขาฟืม ๒ เขา ถ้าผ้าที่ทอมี ๔ ตะกอ จะมีเขาฟืม ๔ เขา เขาฟืมจะอยู่ด้านหลังของฟืมต่อกับไม้เหยียบด้านล่างใช้เชือกโยงกับเขาฟืม ซึ่งต่อเนื่องกับไม้หาบฟืมด้านบน เขาฟืมมีไว้สำหรับสลับด้ายเส้นยืนเพื่อสอดกระสวยด้ายเส้นพุ่งเข้าไปก่อนการตอกด้วยฟืม
·         ไม้เหยียบ ตะกอทำจากไม้ไผ่หรือไม้สัก ขนาดกว่างประมาณ ๒-๓ นิ้ว ความยาวประมาณ ๒-๓ ฟุต สำหรับให้ผู้ทอเหยียบในขณะที่ทอเพื่อสลับเส้นฝ้าย ไม้เหยียบนี้จะอยู่ด้านล่างของกี่ เมื่อเหยียบไม้แล้วจะช่วยยกเส้นฝ้ายขึ้นลงเป็นลายขัดกัน จำนวนของไม้เหยียบจะขึ้นอยู่กับจำนวนเขาฟืมที่กำหนดลวดลายที่จะทอ ซึ่งเรียกว่าลาย ๒ ตะกอ ลาย ๔ ตะกอ
·         เขี้ยวหมาหรือฟันปลา ทำจากไม้จริง ส่วนใหญ่เป็นไม้สัก เลื่อยเป็นซี่ๆ คล้ายฟันของเลื่อย ใช้สำหรับแยกฝ้ายเส้นยืนไม่ให้พันกันและง่ายต่อการคลี่ฝ้ายออกเป็นผืน
·         ไม้หาบเขาและไม้หาบฟืม ทำจากไม้ไผ่หรือไม้สักขนาดใหญ่ พาดขวางอยู่บนคานของกี่ในแนวเดียวกับเขาและฟืม โดยใช้เชือกผูกโยงกับเขาและฟืม เพื่อยึดกับกี่ให้มีความแข็งแรง เนื่องจากการทอใช้แรงในการดึงเขาขึ้นลงและดึงหรือตอกฟืมเข้าออกในแนวนอน ในอดีตหลังจากการทอผ้าแล้วเสร็จในแต่ละวัน เจ้าของผลงานต้องนำผ้าที่อยู่ระหว่างการทอพร้อมอุปกรณ์การทอจากกี่ทอผ้าทั้งชุดขึ้นไปเก็บบนเรือน เพื่อป้องกันการสูญหายจากการขโมยผ้า โดยใช้วิธีถอดอุปกรณ์การทอทั้งหมดจากกี่ทอผ้า รวมกันไว้เป็นชุด หาบไว้บนไหล่แล้วเดินเข้าเรือน จึงเป็นชื่อเรียกของไม้หาบเขา หาบฟืม
·         มะล้อ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกระตุกและดันกระสวยให้พุ่งไปมา ซึ่งประกอบด้วยไม้โยกขึ้นลง ซึ่งติดอยู่กับคานที่พาดขวางบนกี่ ไม่โยกมีการถ่วง ๒ ข้าง มีแกนของไหมล้อซึ่งใช้เป็นที่จับสำหรับกระตุกไม้โยกขึ้นลง โดยผู้อยู่ข้างที่ผู้ทอมีความถนัด
·         หัวนก เดิมใช้ไม้เพราะเหล็กหายาก ปัจจุบันใช้รอกซึ่งหาได้ง่าย มีความทนทาน แต่ละกี่จะใช้หัวนก ๒ อัน ผูกไว้โยงกับด้านซ้ายขวาของเขาฟืมทั้งสองอัน และคล้องกับไม้หาบฟืมด้านบน มีความสัมพันธ์กับไม้เหยียบ คือ เมื่อเหยียบไม้เพื่อลดเขาฟืมอันหนึ่งลง เชือกที่คล้องผ่านรอกหรือหัวนกจะดึงลงพร้อมกับการยกเขาฟืมอีกอันหนึ่งขึ้น เพื่อให้เกิดช่องว่างระหว่างด้ายเส้นพุ่งที่สลับกันสำหรับพุ่งกระสวยผ่านเข้าไปได้
·         กระสวยและหลอดไม้ กระสวยเป็นอุปกรณ์ลักษณะยาวรี เจาะเป็นช่องตรงกลางเพื่อใส่หลอดไม้พันฝ้ายเจาะรูด้านข้าง ขนาดให้เส้นฝ้ายลอดผ่านได้ ปลายของกระสวยทั้งสองข้างอาจมนหรือแหลมตามลักษณะการใช้งาน ถ้าหัวมน เอาไว้ใช้สำหรับกี่กระตุก ส่วนหัวแหลมไว้สำหรับพุ่งด้วยมือ ในขณะที่ทอ ผู้ทอจะพุ่งกระสวยไป มา เพื่อให้เส้นฝ้ายที่พุ่งไป มา ไปขัดกับฝ้ายที่เป็นเส้นยืน หลอดไม้ใช้สำหรับพันฝ้ายเส้นพุ่ง ในขณะใช้งานจะนำไปเสียบกับกระสวย หลอดไม้ทำจากปล้องไม้ไผ่บง ซึ่งมีความหนาและทนกว่าไม้ไผ่ทั่วไป มีรูทะลุตลอดปล้องสำหรับเสียบเหล็กเพื่อยึดกับกระสวย
·         ไม้สะป้าน สำหรับพันเนื้อผ้าที่ทอเสร็จแล้ว
๓. เฟือขอ มีลักษณะเป็นโครงสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาจทำจากไม้หรือเหล็กก็ได้ โดยปลายทั้งสองข้างตามแนวนอนมีด้ามเล็กๆ ยึดติดอยู่เป็นระยะ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียงด้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ
๔. กงกว๊าง เป็นอุปกรณ์สำหรับคลี่เส้นฝ้ายเพื่อให้ง่ายต่อการทำมาปั่นใส่กระป๋อง
๕. กระป๋องหรือหลอดฝ้ายขนาดใหญ่ กระป่องหรือโครงไม้เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้พันฝ้าย
๖. เพียนปั่นด้าย เพียนปั่นด้ายเข้าหลอดหรือกงปั่นหลอดด้าย ปัจจุบันทำจากซี่และวงล้อรถจักรยาน ใช้สำหรับกรอเส้นฝ้ายที่เป็นเส้นพุ่งใส่หลอดไม้ไผ่ที่จะนำไปใส่ในกระสวย
๗. บันไดลิง บันไดลิงในอดีตมีลักษณะเป็นเถาวัลย์ ที่มีลักษณะโค้งงอเหมือนบันได ปัจจุบันบันไดลิงหายาก จึงเปลี่ยนมาใช้ไม้ตอกตะปูห่างกันประมาณ ๓ นิ้ว โดยดัดตะปูให้โค้งงอสำหรับเกี่ยวเส้นฝ้ายไว้และยังคงใช้ชื่อเรียกดังเช่นอดีต

ขั้นตอนการทอผ้าฝ้าย

ขั้นตอนที่ ๑ นำฝ้ายเป็นใจมาคลี่ออกใส่กงกว๊าง เพื่อนำไปพันใส่บ่าหลุกกวักฝ้าย แล้วนำมาขินหรือปั่นใส่กระป๋องหรือหลอดไม้ขนาดใหญ่ การปั่นฝ้ายใส่กระป๋อง ถ้าต้องการเส้นฝ้ายที่มีเส้นใหญ่ อาจจะปั่นครั้งละ ๒-๓ ใจ ให้เส้นฝ้ายมารวมกัน
ขั้นตอนที่ ๒ นำกระป๋องที่มีเส้นฝ้ายพันอยู่ไปเรียงตามลำดับ สี ของเส้นฝ้ายเส้นยืนตามลวดลายที่จะทอ โดยนำมาเรียงครั้งละประมาณ ๔๐ กระป๋อง จะได้เส้นฝ้ายยืนครั้งละ ๔๐ เส้น แล้วนำแต่ละเส้นไปคล้องกับบันไดลิง เพื่อไม้ให้เส้นฝ้ายพันกันและขึ้นเฟือขอต่อไป
ขั้นตอนที่ ๓ นำฝ้ายเส้นพุ่งจากบันไดลิงมาขึ้นเฟือขอ ซึ่งเฟือขอจะทำหน้าที่สำหรับเรียงฝ้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ และทำการสลับเส้นยืนสำหรับใช้กับตะกอเส้นขึ้นเส้นลงด้านล่างของเฟือขอเมื่อสิ้นสุด การเรียงเส้นฝ้ายจะนำแต่ละเส้นมาม้วนเพื่อให้เกิดลักษณะของการสลับเส้น สำหรับการทอยกเป็นเส้นขึ้นเส้นลงที่ด้านล่างขาวของเฟือขอ
ขั้นตอนที่ ๔ นำกลุ่มฝ้ายเส้นยืนจากเฟือขอมาขึ้นกี่ แล้วคลี่ฝ้ายเส้นยืนตามที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้เขี้ยวหมาหรือฟันปลาเป็นตัวช่วยในการสางเส้นฝ้ายแต่ละกลุ่มเส้นออกจากกัน เส้นด้ายในการทอลายหนึ่ง เพื่อแยกเส้นด้ายในการนำไปสืบฝ้ายกับเขาฟืม
ขั้นตอนที่ ๕ หากทอลายเดิมที่เคยทอมา ก็จะนำฝ้ายเส้นยืนใหม่มาต่อกับเศษผ้าฝ้าย หรือเชิงชายที่ตัดมาจากการทอครั้งก่อนที่เรียกว่า"เครือ" เมื่อทอผ้าเสร็จแล้ว ช่างทอจะตัดผ้าที่ทอแล้วออกจากกี่ โดยคงเหลือเศษผ้าฝ้ายหรือเชิงชายจากการทอให้ติดอยู่กับตะกอและฟืม เพื่อเป็นต้นแบบของลาย หากจะมีการทอลายนั้นในครั้งต่อไป เพื่อให้การสืบต่อลายทำได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่เก็บไว้ การเริ่มต้นขึ้นลายใหม่จะมีความยากลำบากมาก ดังนั้นช่างทอจึงต้องเก็บลายไว้ทุกเครือ เนื่องจากเส้นยืนมีความยาวมาก ก่อนทอหรือเมื่อทอไปได้สักระยะหนึ่ง เส้นยืนอาจจะพันกันได้ ดังนั้นจึงต้องคอยคลี่จัดเส้นยืนออกไม่ให้พันกัน
ขั้นตอนที่ ๖ หลังจากการสืบลายแล้ว สามารถเริ่มกระบวนการทอได้ โดยการเหยียบไม้เหยียบเพื่อยกเขาฟืมขึ้นลง แล้วพุ่งกระสวยสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเส้นยืน ให้เส้นพุ่งพุ่งไปขัดกับเส้นยืน และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งอัดเรียงกันแน่น แล้วใช้เท้าเหยียบไม้เหยียบให้ตะกอเส้นยืนสลับขึ้นลง และพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาขัดกับเส้นยืน หลังจากที่พุ่งเส้นพุ่ง ไป มา และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งแน่นหลายๆ ครั้ง ก็จะได้ผ้าทอเป็นผืน แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป




























โครงการ/หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

๑.      โครงการในพระดำริ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านกำแมด
๒.     โครงการ หนึ่งคนหนึ่งอาชีพ
๓.     หลักสูตรการอาชีพ
หลักสูตร/วิชาที่จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับประชาชน เป็นหลักสูตรอาชีพที่ได้พัฒนาปรับปรุงให้เป็นไปตามความต้องการและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและตามสภาพพื้นที่ของผู้เรียน ซึ่งแต่ละหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๕๐ ชั่วโมง มีภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการฝึกอบรม

-          หลักสูตรอาชีพการทอผ้าฝ้าย


























       บทที่ ๓
วิธีการดำเนินการ                                            
ขั้นตอนการดำเนินการ      
                                     
กิจกรรมหลัก
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
พื้นที่ดำเนินการ
ระยะเวลา
งบประมาณ
๑. ประชาสัมพันธ์โครงการฯให้ประชาชนทุกตำบลทราบ
เพื่อเชิญชวนประชาชนที่สนใจมาสมัครเข้าร่วมโครงการ อาชีพทอผ้าฝ้าย
นักศึกษา/ประชาชนที่ว่างงานหรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิมหรือเปลี่ยนอาชีพใหม่
บ้านห้วยปลาโดศรีสามารถ
ประชาสัมพันธ์และรับสมัครตั้งแต่ ๑-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
-
๒. จัดฝึกอาชีพให้กับประชาชนตามความสนใจในแต่ละพื้นที่
เพื่อฝึกอาชีพให้กับประชาชนที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม

การทอผ้าฝ้าย

ประชาชนที่ว่างงานหรือมีอาชีพอยู่แล้วต้องการต่อยอดอาชีพเดิม หรือ
๒๐ คน

กศน.ตำบลบ้านดุง /
บ้านห้วยปลาโดศรีสามารถ
ฝึกอาชีพ
๕-๑๔ มกราคม
๒๕๕๘
กศน.อำเภอบ้านดุง
๓. ติดตามผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ
เพื่อติดตามและรายงานผลการฝึกอาชีพให้กับประชาชน
ผู้ที่ได้รับการฝึกอาชีพจากสถานศึกษา กศน.ทั่วประเทศ
กลุ่มอาชีพทอผ้าฝ้าย
บ้านห้วยปลาโดศรีสามารถ
๑-๑๐ กุมภาพันธ์ ๕๘

-


ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑.      ประชุมชี้แจงบุคคลกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงการจัดโครงการ
๒.      จัดทำโครงการ เพื่อเสนออนุมัติโครงการ
๓.      จัดหาวิทยากร  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการ
๔.      จัดทำคำสั่ง  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
๕.      ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน วางแผนและเตรียมการจัดการตามโครงการ
๖.      จัดฝึกอาชีพตามโครงการ
๗.      รายงานผลการจัดกิจกรรม




วิธีการ

จัดกิจกรรมฝึกอบรมอาชีพ หลักสูตรอาชีพ ๕๐ ชั่วโมง โดยการบรรยายให้ความรู้ทางทฤษฎี และลงมือปฏิบัติจริง
สื่อประกอบการดำเนินการ

๑. หลักสูตรอาชีพที่เปิดสอน อาชีพทอผ้าฝ้าย
๒. วัสดุ-อุปกรณ์ ในการจัดฝึกสอน
๓. แบบประเมินและรายงานผลการจบหลักสูตร





























บทที่ ๔
ผลการดำเนินการ

๑.      ค่าร้อยละนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฝึกอาชีพให้กับประชาชน หนึ่งคน หนึ่งอาชีพ (๑๓ อาชีพ)
เป้าหมายนักศึกษาเข้าอบรมตามโครงการ                                จำนวน  ๒๐ คน
นักศึกษาเข้าอบรมตามโครงการ                                            จำนวน  ๒๐ คน
คิดเป็นร้อยละ  ๑๐๐ ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ระดับคุณภาพ  ดีมากหรือมากที่สุด

๒.     ตารางที่ ๑ ค่าร้อยละแบบสอบถามความพึงพอใจ  จำนวน  ๒๐ ชุด รายละเอียด ดังนี้


เรื่อง
ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
รวม

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้ารับการอบรม
๑.เนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายเพียงใด
๑๕
-
-
-
๒๐


๒.ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ จากการอบรม
๑๖
-
-
-
๒๐

๓.การฝึกอบรมในครั้งนี้ เพิ่มความรู้และความสามารถเพียงใด
    ๔
๑๐
-
-
๒๐

๔.ท่านมั่นใจว่าจะนำสิ่งที่ได้รับไปพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขตัวเองได้เพียงใด
๑๐
-
-
๒๐

ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม








๑.ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสมเพียงใด
๑๐
-
-
๒๐

๒.สถานที่ในการอบรม
-
-
๒๐

๓.เอกสารประกอบการอบรม
๑๐
-
-
๒๐

๔.ประโยชน์ในภาพรวมที่ได้รับจากการอบรม
๑๓
-
-
-
๒๐

๕.ความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าอบรม
๑๔
-
-
๒๐

ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิทยากร








๑.วิทยากรอบรม  โดยรวมมีคุณ-ภาพและประสิทธิภาพเพียงใด
๑๑
-
-
๒๐

๒.วิทยากรในการอบรมมีความรู้  ความสามารถในการเสริมความรู้เพียงใด
๑๑

-
-
๒๐

๓.วิทยากรอบรมมีทักษะและประสบการณ์ในการสอนเพียงใด
๑๖
-
-
๒๐

๔.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม มีความพร้อมและเพียงพอเพียงใด
๑๓
-
-
-
๒๐




สรุปแบบสอบถามความพึงพอใจ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้ารับการอบรม
๑.เนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายเพียงใด
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๒๕.๐๐
·       มาก              ๘๕.๐๐
·       ปานกลาง        -
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -        
๒.ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ จากการอบรม
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๒๐๐๐
·       มาก              ๘๐.๐๐
·       ปานกลาง        -
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๓.การฝึกอบรมในครั้งนี้ เพิ่มความรู้และความสามารถเพียงใด
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๒๐.๐๐
·       มาก              ๓๐.๐๐
·       ปานกลาง        ๕๐.๐๐
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๔.ท่านมั่นใจว่าจะนำสิ่งที่ได้รับไปพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขตัวเองได้เพียงใด
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๕๐.๐๐
·       มาก              ๔๐.๐๐
·       ปานกลาง        ๑๐.๐๐
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -

ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม
๑.ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสมเพียงใด
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๕๐.๐๐
·       มาก              ๒๕.๐๐
·       ปานกลาง        ๒๕.๐๐
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๒.สถานที่ในการอบรม
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๓๐.๐๐
·       มาก               ๒๕.๐๐
·       ปานกลาง        ๔๕.๐๐
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๓.เอกสารประกอบการอบรม
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๔๐.๐๐
·       มาก              ๑๐.๐๐
·       ปานกลาง        ๕๐.๐๐
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๔.ประโยชน์ในภาพรวมที่ได้รับจากการอบรม
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๖๕.๐๐
·       มาก              ๓๕.๐๐
·       ปานกลาง        -
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๕.ความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าอบรม
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๗๐.๐๐
·       มาก              ๑๐.๐๐
·       ปานกลาง        ๒๐.๐๐
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -

ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิทยากร
๑.วิทยากรอบรม  โดยรวมมีคุณ-ภาพและประสิทธิภาพเพียงใด
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๕๕.๐๐
·       มาก              ๒๐.๐๐
·       ปานกลาง        ๒๕.๐๐
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๒.วิทยากรในการอบรมมีความรู้  ความสามารถในการ
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๕๕.๐๐
·       มาก              ๔๕
·       ปานกลาง        -
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๓.วิทยากรอบรมมีทักษะและประสบการณ์ในการสอนเพียงใด
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๘๐.๐๐
·       มาก              ๑๐.๐๐
·       ปานกลาง        ๑๐.๐๐
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -
๔.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม มีความพร้อมและเพียงพอเพียงใด
ระดับความพึงพอใจ
·       มากที่สุด         ๖๕.๐๐
·       มาก              ๓๕.๐๐
·       ปานกลาง        -
·       น้อย              -
·       น้อยที่สุด         -













๒.ตารางที่ ๒  แสดงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับความพึงพอใจด้านต่างๆ 
จำนวน ๒๐ ชุด  รายละเอียดดังนี้
              รายการประเมิน
ระดับความพึงพอใจ
จำนวน     รวม
(N)


x


ระดับ
     5
(ร้อยละ)
 4
(ร้อยละ)
3
(ร้อยละ)
2
(ร้อยละ)
1
(ร้อยละ)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้ารับการอบรม
๑.เนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายเพียงใด
(๒๕.๐๐)
๑๕
(๘๕.๐๐)
-
-
-
๒๐
(๑๐๐)
๔.๒๕
มากที่สุด

๒.ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ จากการอบรม
(๒๐.๐๐)
๑๖(๘๐.๐๐)
-
-
-
๒๐(๑๐๐)
๔.๒๐
มากที่สุด

๓.การฝึกอบรมในครั้งนี้ เพิ่มความรู้และความสามารถเพียงใด
(๒๐.๐๐)
(๓๐.๐๐)
๑๐
(๕๐.๐๐)
-
-
๒๐(๑๐๐)
๓.๗๕
มากที่สุด

๔.ท่านมั่นใจว่าจะนำสิ่งที่ได้รับไปพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขตัวเองได้เพียงใด
๑๐
(๕๐.๐๐)
(๔๐.๐๐)
(๑๐.๐๐)
-
-
๒๐(๑๐๐)
๔.๔
มาก

รวม
๔.๑๕
มากที่สุด

ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม


๑.ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสมเพียงใด
๑๐
(๕๐.๐๐)
(๒๕.๐๐)
(๒๕.๐๐)
-
-
๒๐
(๑๐๐)
๓.๓๕
   มาก

๒.สถานที่ในการอบรม
(๓๐.๐๐)
(๒๕.๐๐)
(๔๕.๐๐)
-
-
๒๐
(๑๐๐)
๒.๙๕

มากที่สุด

๓.เอกสารประกอบการอบรม
(๔๐.๐๐)
(๑๐.๐๐)
๑๐
(๕๐.๐๐)
-
-
๒๐
(๑๐๐)
๓.๙๐

มากที่สุด

๔.ประโยชน์ในภาพรวมที่ได้รับจากการอบรม
๑๓
(๖๕.๐๐)
(๓๕.๐๐)
-
-
-
๒๐
(๑๐๐)
๔.๖๕

มากที่สุด

๕.ความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าอบรม
๑๔
(๗๐.๐๐)
(๑๐.๐๐)
(๒๐.๐๐)
-
-
๒๐
(๑๐๐)
๔.๐๒

   มาก

รวม

๓.๗๘
มากที่สุด

ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิทยากร


๑.วิทยากรอบรม  โดยรวมมีคุณ-ภาพและประสิทธิภาพเพียงใด
๑๑
(๕๕.๐๐)
(๒๐.๐๐)
(๓๕.๐๐)
-
-
๒๐(๑๐๐)
๔.๒๕
มาก

๒.วิทยากรในการอบรมมีความรู้  ความสามารถในการเสริมความรู้เพียงใด
๑๑
(๕๕.๐๐)
(๔๕.๐๐)
-
-
-
๒๐(๑๐๐)
๔.๕๐
มากที่สุด

๓.วิทยากรอบรมมีทักษะและประสบการณ์ในการสอนเพียงใด
๑๖
(๘๐.๐๐)
(๑๐.๐๐)
(๑๐.๐๐)
-
-
๒๐(๑๐๐)
๔.๗๐
มากที่สุด

๔.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม มีความพร้อมและเพียงพอเพียงใด
๑๓
(๖๕.๐๐)
(๓๕.๐๐)
-
-
-
๒๐(๑๐๐)
๔.๖๕
มากที่สุด

รวม

๔.๕๓
มากที่สุด

วิธีคิด  ค่าที่ได้ คูณ ระดับความพึงพอใจ หารจำนวนรวม(N)ของแต่ละระดับแล้วนำมาบวกกันจะได้ค่า x

บทที่  ๕
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

๑. จากแบบประเมินความพึงพอใจ
ผลประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จ

)  จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐
                         จากจำนวนผู้ลงทะเบียนอบรมฝึกอาชีพ  จำนวน ๒๐  คน  แยกตามกลุ่มเป้าหมาย  ดังนี้
                         ๑.๑  ผู้ที่ต้องการมีทักษะความรู้เพื่อสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  จำนวน   ๑๐   คน
                         ๑.๒  ผู้ที่ต้องการมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้                               จำนวน    ๗    คน
                         ๑.๓  ผู้ที่ต้องการต่อยอดอาชีพ                                             จำนวน    ๓    คน

                    ๒). จำนวนผู้ผ่านเกณฑ์การอบรมตามโครงการ (หลักสูตรระยะสั้น)           ทั้งสิ้น   ๒๐  คน
                       - บรรลุเป้าหมาย  ร้อยละ ๑๐๐ เนื่องจาก เป้าหมาย ๒๐ คน มีผู้เข้าร่วมอบรม ๒๐ คน

) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ 
    - บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจใน ภาพรวมอยู่ในระดับ   พึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๔.๑๕ หรือ เท่ากับ ร้อยละ ๘๐ โดยมีลำดับดังนี้

๑.ระดับความพึงพอใจ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้ารับการอบรม ค่าเฉลี่ย ๔.๑๕ (คะแนนเต็ม ๕)  อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด  โดยมีระดับความพึงพอใจดังนี้
๑)      ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆจากการอบรม  ค่าเฉลี่ย๔.๒๕
๒)      เนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมาย ค่าเฉลี่ย ๔.๒๐
๓)      การฝึกอบรมในครั้งนี้  เพิ่มความรู้และความสามารถเพียงใด ค่าเฉลี่ย ๓.๗๕
๔)      ท่านมั่นใจว่าจะนำสิ่งที่ได้รับไปพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขตัวเองได้เพียงใด ค่าเฉลี่ย ๔.๔

๒.ระดับความพึงพอใจความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม  ค่าเฉลี่ย ๓.๗๘  (คะแนนเต็ม ๕)  อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก   โดยมีระดับความพึงพอใจดังนี้
    ๑) สถานที่ในการอบรมมีความเหมาะสม  ๓.๓๕
    ๒) สถานที่ในการอบรม ค่าเฉลี่ย ๒.๙๕
    ๓) เอกสารประกอบการอบรม  และประโยชน์ในภาพรวมที่ได้รับจากการอบรม ค่าเฉลี่ย ๓.๙
    ๔) ประโยชน์โดยรวมที่ได้รับ จากการอบรม   ค่าเฉลี่ย ๔.๖๕
    ๕) ความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าอบรม ค่าเฉลี่ย ๔.๐๒

๓.ระดับความพึงพอใจความคิดเห็นเกี่ยวกับวิทยากร ค่าเฉลี่ย ๔.๕๓  (คะแนนเต็ม ๕)  อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด   โดยมีระดับความพึงพอใจดังนี้
               ) วิทยากรอบรม  โดยรวมมีคุณ-ภาพและประสิทธิภาพเพียงใด ค่าเฉลี่ย ๔.๒๕
     ๒) วิทยากรอบรมมีทักษะและประสบการณ์ในการสอนเพียงใด  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม มีความพร้อมและเพียงพอเพียงใด  ค่าเฉลี่ย  ๔.๕๐
     ๓) วิทยากรอบรม  โดยรวมมีคุณ-ภาพและประสิทธิภาพเพียงใด ค่าเฉลี่ย ๔.๗๐












      
           ภาคผนวก








                               แบบสอบความพึงพอใจผู้เข้าอบรมโครงการอาชีพทอผ้าฝ้าย
กศน.ตำบลบ้านดุง  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี


เรื่อง
ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
รวม

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้ารับการอบรม
๑.เนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายเพียงใด







๒.ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ จากการอบรม







๓.การฝึกอบรมในครั้งนี้ เพิ่มความรู้และความสามารถเพียงใด







๔.ท่านมั่นใจว่าจะนำสิ่งที่ได้รับไปพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขตัวเองได้เพียงใด







ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม








๑.ระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสมเพียงใด







๒.สถานที่ในการอบรม







๓.เอกสารประกอบการอบรม







๔.ประโยชน์ในภาพรวมที่ได้รับจากการอบรม







๕.ความพึงพอใจในภาพรวมของการเข้าอบรม







ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิทยากร








๑.วิทยากรอบรม  โดยรวมมีคุณ-ภาพและประสิทธิภาพเพียงใด







๒.วิทยากรในการอบรมมีความรู้  ความสามารถในการเสริมความรู้เพียงใด







๓.วิทยากรอบรมมีทักษะและประสบการณ์ในการสอนเพียงใด







๔.วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม มีความพร้อมและเพียงพอเพียงใด








ข้อเสนอแนะ/เพิ่มเติม

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................